วัตถุประสงค์การจัดสร้าง
เหตุใดจึงริเริ่มโครงการ ‘พระนาคปรกฉลุมุจลินท์นาคราชโพธิสักการ’
เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดแคลนในท้องถิ่นทุรกันดาร และขาดแคลนทุนทรัพย์ในการจัดหาอุปกรณ์จำเป็น อาทิ โต๊ะ เก้าอี้ ถังเก็บน้ำดื่ม รวมถึงอาหารกลางวัน เสื้อผ้า ทุนการศึกษา ร่วมสบทบทุนสร้างถาวรวัตถุ เช่น โรงอาหาร หรือซ่อมบำรุงอาคารเรียนที่ชำรุด
อาริยธรรมศิลป์ เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของเยาวชน ผู้จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต โดยเฉพาะโรงเรียนยากจนในท้องถิ่นธุรกันดาร ที่ยังขาดแคลนทั้งทุนการศึกษาและอุปกรณ์การเรียน เพื่อให้เด็กๆ เกิดความหวังและพลังใจในการเรียน และกลับมาพัฒนาท้องถิ่นได้ในอนาคต
พิธีพุทธาภิเษก
- 27 กรกฎาคม 2566 ณ พระอุโบสถ วัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ โดย ‘พระอาจารย์โชคดี’ พระครูวศินปริยัตยากร (สมภูมิ สมจิตโต) เจ้าอาวาสวัดไก่เตี้ย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เมตตาอธิษฐานจิต นั่งปรกร่วมกับพระสงฆ์ 5 รูป
ความประณีตในการออกแบบ 61 ชิ้น
ด้วยส่วนประกอบจำนวนมากถึง 61 ชิ้น ส่วนสูงประมาณ 24 ซม. ทำให้ ‘พระนาคปรกฉลุมุจลินท์นาคราชโพธิสักการ’ เป็นหนึ่งในพัฒนาการขั้นสูง เต็มไปด้วยความประณีต อุตสาหะ ใส่ใจทุกรายละเอียด ของการหล่อพระบูชาในปี 2566 ของอาริยธรรมศิลป์
ความยากขั้นสุดในการพัฒนาแม่พิมพ์รุ่นนี้คือ การแยกพิมพ์หล่อฉลุที่ซับซ้อนของลำตัว และเศียรพญานาคแต่ละเศียร ที่ต้องคำนึงถึงระดับความสูง ไม่ให้เหลื่อมล้ำและรกรุงรังเกินงาม แต่ยังคงแฝงด้วยอัตลักษณ์ความงามสำคัญประจำรุ่น คือลายฉลุเกล็ดนาคที่ลำแสงสามารถลอดทะลุผ่านได้
แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน เกิดจากภาพนิมิตของเหล่านาคราช ที่ลอยละล่องเลื้อยกระหวัดท่ามกลางอากาศและเมฆหมอกที่โปร่งเบา จึงเกิดแนวคิดในการประดิษฐ์ชิ้นงาน ให้ลำแสงสามารถทะลุผ่านลายฉลุเกล็ดนาคออกมาได้
การเลือกสีสันพระบูชาทั้ง 8 รายการ ได้จากการซึมซับแสงสีในธรรมชาติ ผ่านการโอบรับบรรยากาศยามเช้า น้ำค้างยามสาย แสงจัดจ้าเพลาเพล และแสงนุ่มเย็นบางเบาที่ตกกระทบนัยน์ตายามเข้าห้วงสนธยา และยังสื่อถึงสีสันเหล่านาคราชในตำนานโบราณ
รุ่นแรกที่เปลี่ยนฐานรองรับพระบูชาจากไม้สักทองเป็น ‘หินอ่อนธรรมชาติทรงพานกลึงมือ’ โดยถูกออกแบบให้เข้ากันกับรูปทรงของพระบูชา ประกอบด้วย สีขาวดอกรัก และสีนิลดำ เพื่อสื่ออารมณ์ถึงพระบูชาที่ต่างกันในแต่ละรุ่น
ผลงานนี้จึงเป็นหนึ่งในประดิษฐกรรมความงาม สื่อถึงอภิวันทศรัทธาขององค์มุจลินท์นาคราชที่มีต่อพระพุทธศาสนา อีกหนึ่งผลงานแห่งความภาคภูมิของอาริยธรรมศิลป์ ที่พร้อมบรรณาการแด่ทุกท่านที่ชื่นชม และให้ความกรุณาติดตามผลงานมาโดยตลอด
ลงยาสีเลื่อมประภัสสร
Jintrakarn’s Prapassorn Enameling
‘บางเบาดุจแพรผ้า เชื่อมประสานดุจธารน้ำไหล’
Gauzy as Silk, Blending seamlessly like a Stream
‘จินต์ตระการ อาร์ตสตูดิโอ’ ได้คิดค้นนวัตกรรมการลงยาสีชนิดใหม่ ที่สามารถไล่น้ำหนักสีตั้งแต่ 2 สีขึ้นไป ให้เชื่อมประสานเข้าหากันได้อย่างกลมกลืนเป็นธรรมชาติ ประดุจธารน้ำไหล โดยสีที่เคลือบบนผิวโลหะยังให้คุณลักษณะบางเป็นพิเศษ จึงไม่บดบังรายละเอียดของชิ้นงาน เปรียบดั่งการระบายสีด้วยน้ำมือจิตรกร
‘ประภัสสร’ หมายถึง แสงเลื่อมพรายยามพระอาทิตย์แรกขึ้น
ชื่อพระ | พระนาคปรกฉลุมุจลินท์นาคราชโพธิสักการ |
ปีที่สร้าง | พ.ศ. 2566 |
จัดสร้างโดย | อาริยธรรมศิลป์ |
ออกแบบ | เอกชัย พุ่มแก้ว |
ประติมากร | ไพรัช ตรีวิทยานุรักษ์ |
รังสรรค์การผลิต | จินต์ตระการ อาร์ตสตูดิโอ |