วัตถุประสงค์การจัดสร้าง

  1. สมทบทุนจัดสร้างวัดใหม่ในการอุปถัมภ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก
  2. สมทบทุนในโครงการเพชรยอดมงกุฎ แข่งขันทางวิชาการของนักเรียนทั่วประเทศ ฯลฯ

พิธีพุทธาภิเษก

  • พิธีมหาจักรพรรดิ ณ วิหารพระพุทธชินราช (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก ประมาณปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 : โดย พระธรรมเสนานุวัตร (เจ้าอาวาส) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

ที่มาและแนวคิดในการจัดสร้าง

เป็นเวลากว่า 80 ปี ที่ รูปหล่อลอยองค์พระพุทธชินราช รุ่น “อินโดจีน” ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2485 ด้วยจำนวนสร้างที่มากถึง 84,000 องค์ แต่ยังคงเป็นที่นิยม และรู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องพระบูชา

ปัจจุบันองค์สวยๆ มีราคาหลายแสนบาท แม้กระนั้นองค์ที่ไม่สวยก็มีราคาเหยียบหมื่นบาทขึ้นไป โดยรุ่น “อินโดจีน” ต้นแบบมีทั้งที่หล่อเติมๆ และถูกตบแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม โดยยึดองค์พระพุทธชินราชองค์จริง ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เป็นต้นแบบ หากฝีมือช่างแต่งงามระดับเทพ สนนราคาจะไม่ต่ำกว่าสี่ – ห้าแสนบาท

นับจากนั้นเป็นต้นมา จึงมีความพยายามปั้นแต่งองค์พระพุทธชินราชลอยองค์ให้สวยมาตลอด แต่ก็ได้ในระดับหนึ่ง จวบจนกระทั่งครบ 70 ปี ของพระพุทธชินราช รุ่น “อินโดจีน” ในปี พ.ศ. 2555 จึงเกิดการรังสรรค์ “พระพุทธชินราชพิมพ์แต่งฉลุลอยองค์” (สูง 4.5 ซม. ฐานกว้าง 2.1 ซม.) ขึ้นมาใหม่ ให้มีขนาดเท่ากับรุ่นอินโดจีน โดยจัดสร้างต้นแบบให้งดงามที่สุด ให้ศิลปินเป็นผู้ออกแบบลายเส้น และช่างปั้นได้บรรจงถอดลายเส้นวิจิตรออกมาเป็นองค์พระ ซึ่งความพิเศษคือ สามารถถอดประกอบแยกชิ้นส่วนได้ถึง 4 ชิ้น ประกอบด้วย

  1. องค์พระ
  2. ซุ้มรัศมีองค์พระ
  3. ฐานบัวอาสนะ
  4. ฝาปิดครอบฐาน
ภาพแสดงการแยกประกอบ 4 ชิ้นส่วนของ “รูปหล่อ (พิมพ์แต่ง) ฉลุลอยองค์ : พระพุทธชินราช รุ่น จอมราชันย์”

ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยในกรรมวิธีการผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุด หล่อทุกชิ้นส่วนแยกออกจากกัน และนำมาประกอบกันจนสำเร็จเป็นองค์พระที่สมบูรณ์ ซุ้มรัศมีองค์พระฉลุลายอย่างวิจิตร ยากต่อการลอกเลียนแบบ ทำให้ “รูปหล่อลอยองค์พระพุทธชินราช” ในปี พ.ศ. 2555 มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร และไม่ซ้ำแบบรุ่นใดๆ

ชื่อพระพระพุทธชินราช รุ่น จอมราชันย์
ปีที่สร้างพ.ศ. 2555
จัดสร้างโดยสยามปุระ อาร์ต แอนด์ แกลเลอรี่
ออกแบบจิด.ตระ.ธานี **
ประติมากรไพรัช ตรีวิทยานุรักษ์ **
รังสรรค์การผลิตจินต์ตระการ อาร์ตสตูดิโอ **
** สิ่งพิมพ์, เว็บไซต์ และสื่อประชาสัมพันธ์ของพระรุ่นนี้ทั้งหมด ยังไม่มีการเอ่ยอ้างถึง ชื่อผู้ออกแบบ ชื่อประติมากร และชื่อผู้รังสรรค์การผลิต

รายละเอียดและจำนวนการจัดสร้าง

เฉพาะ *รูปหล่อ (พิมพ์แต่ง) ฉลุลอยองค์

ลำดับรายละเอียดสร้าง
1.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อทองคํา สังวาลฝังเพชร108
2.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อเงิน ผิวปัดมัน ลงยาดํา1,999
3.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อโลหะชุบ 3 กษัตริย์5,555
4.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อนวโลหะ15,775
5.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อโลหะชุบทอง8,833
6.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อโลหะชุบทอง ซุ้มชุบเงิน8,338
7.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อโลหะชุบทอง ซุ้มชุบนาก3,333
8.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อทองเหลืองนอก (ทองระฆัง)19,999
9.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อบรอนซ์นอก (ทองสำริด)19,999
10.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อโลหะชุบนาก (ทองชมพู)9,999
11.พิมพ์แต่งฉลุลอยองค์ เนื้อโลหะชุบเงิน ซุ้มนวโลหะ9,999
01_Chinnarat2012_12-9-2023
02_Chinnarat2012_12-9-2023
03_Chinnarat2012_12-9-2023
04_Chinnarat2012_12-9-2023
05_Chinnarat2012_12-9-2023
06_Chinnarat2012_12-9-2023
07_Chinnarat2012_12-9-2023
08_Chinnarat2012_12-9-2023
09_Chinnarat2012_12-9-2023
10_Chinnarat2012_12-9-2023
11_Chinnarat2012_12-9-2023
Exit full screenEnter Full screen
previous arrow
next arrow
PlayPause
01_Chinnarat2012_12-9-2023
02_Chinnarat2012_12-9-2023
03_Chinnarat2012_12-9-2023
04_Chinnarat2012_12-9-2023
05_Chinnarat2012_12-9-2023
06_Chinnarat2012_12-9-2023
07_Chinnarat2012_12-9-2023
08_Chinnarat2012_12-9-2023
09_Chinnarat2012_12-9-2023
10_Chinnarat2012_12-9-2023
11_Chinnarat2012_12-9-2023
previous arrow
next arrow

ความรู้เพิ่มเติม : พระพุทธชินราชอินโดจีน พิมพ์นิยม (13 เม.ย. 2563) คอลัมน์ สยามรัฐพระเครื่อง